โรคใบไหม้ในบอนสี 

จากกระแสสุดฮิตแบบฉุดไม่อยู่ของไม้ประดับอย่าง “บอนสี” จากระดับราคาหลักร้อยหลักพันบาทต่อกระถางจนถึงระดับเกือบ 20 ล้านบาท ด้วยมูลค่าของบอนสีที่มีราคาแพงและเป็นของสุดรักของใครหลายๆ ท่าน วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่าน มาทำความรู้จักกับโรคพืชที่อาจเกิดขึ้นกับใบบอน 

บอน หรือบอนสี เป็นพรรณไม้ชนิดเดียวกับ “เผือก” ซึ่งเป็นพรรณไม้ในสกุล (Genus) Colocasia และเป็นญาติใกล้ชิดกับดอกหน้าวัว ซึ่งนักวิทยาศาตร์จัดให้พรรณไม้ทั้ง 3 ชนิด อยู่ในวงศ์ (Family) Araceae ดังนั้น ในบทความนี้เราจะขอเทียบเคียงโรคพืชในเผือกและดอกหน้าวัวที่นักวิชาการได้ศึกษาไว้กับบอนสี กันครับ 

โรคพืชในบอนสีที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ความชื้นสัมพันธ์ในอากาศสูง มีฝนตกพรำๆ นั้นก็ คือ โรคใบไหม้ หรือโรคใบจุดตาเสือ (Leaf blight) เป็นโรคพืชที่พบแทบจะตลอดทั้งปีในเผือก โรคใบไหม้ มีสาเหตุจากเชื้อรา Phythopthora colocasiae Rac หรือเชื้อราสาเหตุโรคใบไหม้ในดอกหน้าวัว Phythopthora parasitica Dastur  

ทั้งเชื้อรา P. colocasiae และ P. parasitica ต่างก็มีลักษณะอาการของโรคคล้ายกัน คือ เริ่มแรกจะเกิดแผลจุดฉ่ำน้ำ เมื่อแผลขยายขนาดขึ้นจะพบว่าบริเวณเนื้อแผลเป็นสีขาวอมเทาและสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ รอบๆ แผลยังคงมีรอยฉ่ำน้ำและบริเวณขอบแผลเนื้อใบบอนจะเป็นสีเหลืองล้อมรอบแผล หากโรคระบาดรุนแรงเชื้อโรคจะลุกลามเข้าสู่ก้านใบและโคนต้นได้ ทำให้เกิดอาการก้านหรือโคนต้นเน่าเสียหาย 

การดูแลรักษาโรคใบไหม้ ควรรีบป้องกันกำจัดตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเมื่อเกิดโรค โดยตัดส่วนที่ติดโรคออกและพ่น ทวินโปร (อะซอกซีสโตรบิน 20%+ไดฟิโนโคนาโซล 12.5%) อัตรา 10-15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับ พีเทน80 (แมนโคเซบ 80%) หรือ พีโคล (โพรพิเนบ 70%) อัตรา 50-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดของโรคและพ่นครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 7-10 วัน  

หรือ พ่นด้วย ดีโฟร่า (ไซมอกซานิล 8%+แมนโคเซบ 64%) อัตรา 50-60 กรัม พ่น 2-3 ครั้ง ทุกๆ 7-10 วัน 

เรียบเรียง: Thirasak Chuchoet 

เอกสารอ้างอิง:  

กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.2553.โรคไม้ดอกไม้ประดับ.นนทบุรี.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.163 หน้า. 

กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.2554.โรคผักและการป้องกันกำจัด.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ.บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.153 หน้า. 

ดร.ศรีสุข พูนผลกุน.2554.สารป้องกันกำจัดโรคพืช.พิมพ์ครั้งที่ 1.นนทบุรี.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.101 หน้า. 

อรพรรณ วิเศษสังข์, จุมพล สาระนาค.2558.โรคพืชผักและการป้องกันกำจัด.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ.บริษัทสยามคัลเลอร์พริน จำกัด.164 หน้า 


Number of visitors : 802193 Views

Sitemap